โรคลมแดด โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน
“ฮีทสโตรก” ( Heatstroke ) หรือ “โรคลมแดด” คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงผู้สูงอายุ โดยเกิดจากการที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ลักษณะของอาการของโรคลมแดด
- ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
- ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหายน้ำมาก
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
- ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
- อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน
วิธีการป้องกันโรคลมแดด
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
- ใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด หรือ การเล่นกีฬาในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
- ติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย เช่น ราวจับติดผนังแบบต่อเนื่อง ราวจับกันลื่น ภายในบ้าน
หากพบผู้มี “อาการโรคลมแดด” ขอให้รีบนำเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข