ฝึกสมอง ป้องกันสมองเสื่อม

816
ฝึกสมอง ป้องกันสมองเสื่อม

ถ้าในวันหนึ่ง คุณลืมว่าต้องเก็บของอะไรไว้ที่ไหน คุณลืมว่าต้องแต่งตัวยังไง ลืมว่าเพึ่งไปทำอะไรมา คุณลืมควบคุมอารมณ์ตัวเอง แล้วก็ลืมไปว่ารอบบ้านก็มีอะไรสนุกๆ ให้ทำอีกเยอะ ถ้าเริ่มมีอาการเตือนเหล่านี้กับคุณ แสดงว่าคุณกำลังเสี่ยงกับสภาวะสมองเสื่อม

 

 

วิธีป้องกัน ด้วยการออกกำลังกาย

1. เล่นเกม ฝึกสมอง ศึกษาเรียนรู้ไม่หยุด

อย่าให้สมองหยุดการเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะสมองยิ่งใช้ ยิ่งฉลาด ยิ่งแข็งแรง การหมั่นศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้วิชาการ หรือแม้แต่การใช้สมองเพื่อเล่นเกม ก็นับเป็นการฝึกสมองอยู่ตลอดเวลา เป็นการช่วยลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้

2. อ้วนไปผอมไป ต้องรีบแก้ไขน้ำหนักตัว

ไม่น่าเชื่อว่าน้ำหนักตัวที่ผิดปกติจะมีผลต่อการเป็นอัลไซเมอร์ ดังนั้น เราควรรักษาน้ำหนักตัวให้ได้มาตรฐาน คือมีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนลงพุงหรือผอมเป็นหนังหุ้มกระดูก ใครที่รู้ตัวว่าอ้วนหรือผอมเกินไป ต้องจัดสรรการกิน การนอน และหมั่นออกกำลังกายลดไขมัน เพิ่มกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

3. อย่าปล่อยให้หูเป็นอะไร

การที่เรามีหูตึง หูเสีย ได้ยินไม่ชัดเจน จนทำให้การรับรู้เสียงต่างๆ แย่ลง สมองที่ทำหน้าที่แปลงเสียงเป็นความหมายก็จะค่อยๆ ถูกปิดกั้นไปด้วย ซึ่งถือเป็นการกระทบต่อการพัฒนาสมองส่วนอื่นๆ เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้โดยไม่รู้ตัว ใครที่ชอบฟังเพลงเสียงดังๆ หรือทำงานอยู่ในที่ที่เสียงดังๆ ควรเลิกหรือหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะหูเสื่อมไว้ด้วย

4. รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ

ใครที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติให้ได้ นอกจากจะเป็นผลดีช่วยลดความเสี่ยงในทุกๆ โรคแล้ว ยังลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ได้ด้วย นอกจากนี้ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนดึก เลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และจำกัดการกินของเค็ม หวาน มัน อาหารรสจัดและอาหารแปรรูปด้วย

5. เบาหวาน ต้นเหตุอีกหลายโรค

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีเลย เพราะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะส่งผลให้เป็นโรคอื่นๆ ได้อีกหลายโรค เช่น โรคหลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ รวมถึงอัลไซเมอร์ด้วย ดังนั้น ควรพบแพทย์เป็นประจำ กินยาตามคำแนะนำ และควบคุมการกินให้ดีเพื่อสุขภาพโดยรวม

 

วิธีแก้ไขด้วยการฟังเพลง

 

6. ทำตัวให้คึกคัก หาเวลาพักร้อนไปเที่ยวบ้าง

เชื่อไหมว่า… การคิดบวก มองโลกในแง่ดี เปิดโลกให้กว้าง การเดินทางพักร้อน จะช่วยให้สมองปลอดโปร่ง นอกจากจะช่วยลดเสี่ยงโรคซึมเศร้าแล้ว ยังช่วยลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย และหากใครที่กำลังมีปัญหาชีวิต ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และใช้ชีวิตให้มีความสุขขึ้นให้ได้

7. จ็อกกิ้ง วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ทำเถอะ

หันมาออกกำลังกายแบบที่ทำให้หัวใจเต้นแรงที่เรียกว่า “คาร์ดิโอ” กันเถอะ เพราะอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 60-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดจะทำให้ร่างกายแข็งแรง เลือดสูบฉีด สมองแจ่มใส และควรทำให้ได้อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หรือจะฟิตกล้ามด้วยก็ได้นะ เพราะการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะทำให้ออกกำลังกายได้ดีขึ้นด้วย

8. เข้าสังคม ไม่อมทุกข์

การเข้าสังคม ได้พูดคุย ทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น อาจเลือกทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น เต้นรำ งานประดิษฐ์ เป็นอาสาสมัคร เข้าร่วมชมรมร้องเพลง เพื่อสร้างความบันเทิง ได้หัวเราะ ได้ท่องเที่ยว หรือการไปเล่นกับเด็กๆ เป็นครูอาสา หรือแม้แต่การเลี้ยงหลานเล็กๆ ก็จะช่วยให้สมองมีชีวิตชีวา สดชื่นแจ่มใสได้เช่นกัน

แชร์บทความนี้