อลูมิเนียมและคุณสมบัติ

375
อลูมิเนียมและคุณสมบัติ

อลูมิเนียม (Aluminum) เป็นโลหะที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์มากทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน เนื่องจากเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติคงทนต่อการหัก ความร้อน การกัดกร่อน น้ำหนักเบา และมีความสามารถในการสะท้อนแสง และความร้อนได้ดี และมีน้ำหนักเพียง 1 ใน 3 เท่าของเหล็ก และ ทองแดง ทำให้เป็นโลหะในเชิงพาณิชที่มีน้ำหนักเบาที่สุดมักใช้ในงานก่อสร้าง งานตกแต่ง เช่น การทำราวจับติดผนัง ราวมือจับ ราวบันได ราวกั้น ประตู หน้าต่าง ฝ้า และโครงสร้างต่างๆ

คุณสมบัติอลูมิเนียม อลูมิเนียมมีจุดหลอมละลายที่ 660 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา รับภาระน้ำหนักได้สูง สามารถขึ้นรูปได้ง่าย ไม่เสี่ยงต่อรอยร้าว และการแตกหัก ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อน และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ โดยเฉพาะการนำมาผสมกับโลหะอื่นๆแล้วจะทำให้คุณสมบัติต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น จุดหลอมเหลวของอลูมิเนียมผสมจะอยู่ที่ 1140-1205 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆ รวมถึงวัสดุหรือภาชนะที่เกี่ยวข้องกับอาหาร นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติทางเคมีของอลูมิเนียมในลักษณะต่างๆ ได้แก่

  1. เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆ เรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์ เคลือบบนชั้นผิวอลูมิเนียมป้องกันการเกิดปฏิกิริยาอื่นๆได้ดี
  2. การทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนจะทำให้เกิดไนไตรด์ที่อุณหภูมิสูง
  3. ไม่ทำปฏิกิริยากับกำมะถัน
  4. เมื่อทำปฏิกิิริยากับไฮโดรเจน ไฮโดรเจนจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นในของอลูมิเนียม จึงจำเป็นต้องกำจัดออก
  5. สามารถทนต่อกรดอนินทรีย์เข้มข้นได้ปานกลาง
  6. ทนต่อปฏิกิริยาของด่างได้เล็กน้อย สามารถละลายได้ในสภาวะที่เป็นด่างเข้มข้น
  7. เกิดปฏิกิริยากับเกลือได้ ทำให้เกิดการกัดกร่อน

จะเห็นได้ว่าอลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีการรับน้ำหนักได้ดี แข็งแรงทนทานและไม่เป็นสนิม อุปกรณ์ราวจับต่อเนื่องของทางเดคอร่า แคร์ แกนด้านในผลิตจากอลูมิเนียม และออกแบบให้สามารถติดตั้งใช้งานได้ทุกจุดของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ทางเดินส่วนต่างๆ ของบ้าน ราวบันได เป็นต้น ด้วยวัสดุคุณภาพเกรดพรีเมียม ทำความสะอาดง่าย จึงหมดความกังวลเรื่องพื้นผิวราวจับหลุดร่อน และเป็นเชื้อรา ด้วยดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์สไตล์ญี่ปุ่น ทำให้ราวจับติดผนังต่อเนื่องสามารถติดตั้งได้ทุกที่ ที่ต้องการความปลอดภัยได้อย่างสวยงาม

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

แชร์บทความนี้