ลื่นหกล้ม เรื่องอันตรายของผู้สูงอายุ

919
ลื่นหกล้ม เรื่องอันตรายของผู้สูงอายุ

        ปัจจุบันอัตราโดยเฉลี่ยผู้สูงอายุไทยที่เสียชีวิตจากการหกล้มประมาณ 3 คนต่อวัน และอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในสูงอายุสูงกว่าทุกกลุ่มอายุถึง 3 เท่า (อ้างอิงจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ) ปัญหาการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสาธารณสุขให้ความสำคัญระดับต้นต้นของประเทศไทย  สำหรับอุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุก็คือ การหกล้ม เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ การตกเตียง ตกบันได เป็นต้น ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65 – 75 ปี ซึ่งการบาดเจ็บที่พบบ่อยของผู้สูงอายุที่ได้รับอุบัติเหตุดังกล่าว ได้แก่ การหักของกระดูกสะโพก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีอัตราความพิการและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย อีกปัญหาหนึ่งที่อาจพบได้จากการหกล้มของผู้สูงอายุคือ การบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเลือดคั่งในสมองที่สูงขึ้น โดยอาการแสดงที่มีอาจไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงที่ได้รับ จากภัยอันตรายที่อาจเกิดกับผู้สูงอายุ ดั่งที่กล่าวมา เราสามารถป้องกันได้ เช่น บริเวณทางเดินควรเรียบสม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นที่เปียก  และการเลือกรองเท้าให้เหมาะสม ควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น มีดอกยางกันลื่นและยึดเกาะกับพื้นได้ รวมไปถึงการติดตั้งราวมือจับไว้บริเวณทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน ปัญหาพื้นลื่นเป็นอันตรายร้ายของผู้สูงอายุ ทว่าเราก็สามารถลดและป้องกันการลื่นหกล้มได้ ฉะนั้นคนภายในครอบครัวต้องคอยหมั่นดูแล สอดส่องและป้องกันไว้อย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็จะช่วยให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุได้ไม่ยากแล้วค่ะ

แชร์บทความนี้