10 วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

1193
10 วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

10 วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

“ผู้สูงอายุ” โดยทั่วไปนอกจากมีปัญหาสุขภาพร่ายกายแล้วยังมีปัญหาด้านจิตใจสมทบด้วยภายในเวลาเดียวกัน เนื่องสภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพตามอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ยิ่งต้องให้ความสำคัญ ทั้งในด้านปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสิ่งนี้ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ บุคคลในครอบครัว ที่ต้องเข้าใจปัญหาต่างๆ ของผู้สูงอายุ เพื่อที่จะได้ดูแลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  วันนี้DECORA CARE มีบทความ 10 วิธีในการดูแลผู้สูงอายุมาฝากกันค่ะ

1. การเลือกทานอาหาร

การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ การขับถ่ายมีประสิทธิภาพลดลง รวมไปถึงปัญหาช่องปากและฟัน ส่งผลทำให้การเคี้ยวอาหารอาจไม่ละเอียด ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุควรเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย และถ้าผู้สูงอายุเลือกทานอาหารในแต่ละมื้อให้ครบ 5 หมู่ เน้นสารอาหารจำพวก ไฟเบอร์หรือเส้นใย โปรตีน วิตามิน คาร์โบไฮเดรต และไขมันดี ก็จะช่วยให้สุขภาพผู้สูงอายุแข็งแรงขึ้น
2. การออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แต่ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่เคยออกกำลังกาย ผู้ดูแลจำเป็นต้องศึกษาหลักการ ให้ถูกต้องและค่อยๆ ทำ และไม่ควรให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบหักโหมจนเกินไป  และถ้าหากมีโรคประจำตัว ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ แต่ในกรณีที่ผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีโรคประจำตัว แนะนำให้เริ่มต้นออกกำลังกายแบบแอโรบิคสัก 30 นาทีต่อครั้ง โดยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง การออกกำลังกายแบบแอโรบิคมีประโยชน์อย่างมากในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แนะนำก่อนเริ่มออกกำลังกายควรให้ผู้สูงอายุยืดกล้ามเนื้อ แล้วค่อยๆ เพิ่มความหนักความแรงในการออกกำลังกาย และควรจะทำอย่างต่อเนื่อง แบบค่อยๆไป ช้าๆ หากเหนื่อย หรือรู้สึกไม่ดีอย่าให้ฝืนออกกำลังกายเด็ดขาด และควรสังเกตอาการผิดปกติ หากพบความผิดปกติแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
3. สภาพแวดล้อมที่ดีและอากาศที่บริสุทธิ์
ผู้สูงอายุควรอยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัย อากาศต้องถ่ายเท มีอากาศที่สดชื่นเพื่อช่วยปัญหาสุขภาพจิตใจ เนื่องจากผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ไม่ได้ออกไปไหน เวลาส่วนใหญ่จึงอายุที่บ้าน เพราะฉะนั้นบ้านที่พักอาศัยจึงไม่ควรกลิ่นเหม็นๆ อับหรือสิ่งของล่วงหล่นตามพื้นบ้าน ควรมีการปลูกต้นไม้ ปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด นอกจากนี้ลูกหลานควรพาผู้สูงอายุออกไปสัมผัสอากาศที่บริสุทธ์บ้าง เช่นพาไปเที่ยวพักผ่อนต่างจังหวัดที่มีธรรมชาติงดงาม เพื่อดูแลสุขภาพระบบทางเดินหายใจ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือหากไม่สะดวกไปต่างหวัด อาจเลือกเป็นสวนสาธารณะใกล้ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุเปิดหูเปิดตา และสัมผัสกับอากาศที่บริสุทธิ์
4. การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุ การพลัด ตก หกล้ม ในผู้สูงอายุดูเหมือนจะมาคู่กัน เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ไม่สะดวก ประกอบกับสายตาที่มองได้ไม่ชัดเหมือนเช่นแต่ก่อน  ดังนั้นการเลือกกิจกรรม หรือการเตรียมที่อยู่อาศัย ควรมีความเหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการสะดุด หรือลื่นล้ม หมั่นตรวจดูความเรียบร้อยบริเวณบันได จัดบ้านให้เป็นระเบียบ เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ถือเป็นเรื่องใหญ่ อาจเกิดการบาดเจ็บ กระดูกหัก ซึ่งแน่นอนผลที่ตามมาจากอุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องดี
5. หลีกเลี่ยงสิ่งอบายมุขที่บั่นทอนสุขภาพ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นควรเลิกทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เพราะสิ่งบั่นทอนสุขภาพเหล่านี้เป็นตัวเร่งความเสื่อมสภาพของร่างกายของผู้สูงอายุให้เร็วขึ้น
6. ควบคุมน้ำหนัก
การควบคุมน้ำหนักไม่ใช่แค่การทำให้ร่างกายหุ่นดีเพียงอย่างเดียว แต่การควบคุมน้ำหนักสำหรับผู้สูงอายุนั้น จะช่วยควบคุมเรื่องคอเลสเตอรอล ไขมันอุดตันในหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม ฯลฯ  ได้เป็นอย่างดี
7. สังเกตอาการหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้สูงอายุ
ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีสภาพร่างกายที่เสมือนยังแข็งแรงดีอยู่ แต่ลูกหลานต้องอย่าลืมสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้สูงอายุบ่อยๆ เพราะบางครั้งความเจ็บป่วยก็ไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน พอรู้ตัวอีกทีอาจเอาจอยู่ในระดับที่รุนแรงแล้วได้ ซึ่งนอกจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกายภายนอกแล้ว การสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และสภาพจิตใจของผู้สูงอายุก็เป็นเทคนิคที่ดีเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง
8. จัดบ้านให้เหมาะสม
การเตรียมบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่จำเป็นกับผู้สูงอายุ ภายในบ้านไม่ควรมีพื้นต่างระดับ เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม พื้นในห้องน้ำไม่ลื่นจนเกินไป ควรแยกพื้นที่เปียกกับพื้นที่แห้งออกจากกัน มีราวจับในห้องน้ำหรือห้องที่มีการใช้งานบ่อยๆ มีแสงสว่างที่เพียงพอ และนอกจากนี้สามารถติดตั้ง ราวมือจับติดผนัง เพื่อทำให้บ้านที่ผู้สูงอายุอยู่นั้น เป็นSmart Home และทำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวอุ่นใจ แม้ในเวลาที่ผู้สูงอายุอยู่บ้านตามลำพัง
9. ตรวจสุขภาพประจำปี
ลูกหลานควรพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ หรือความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น ถ้าเกิดพบเจอโรคก็จะสามารถดูแลรักษาได้ทันท่วงที และหมั่นทำตามคำแนะนำของแพทย์
10. หางานอดิเรกให้ผู้สูงอายุทำยามว่าง
การหางานอดิเรกให้กับผู้สูงอายุ จะช่วยลดปัญหาความเหงา ความเครียดได้ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับการอยู่คนเดียว ชินกับการอยู่ในสังคมที่มีผู้คนมากๆมานาน ดังนั้นการหางานอดิเรกสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุคลายเหงาได้ เช่น การเต้นลีลาศในสมาคมผู้สูงอายุ เล่นดนตรี    ถ่ายภาพ อ่านหนังสือ ฝึกอาชีพ ฯลฯ
ถึงแม้ว่าผู้สูงอายุจะเคยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่เมื่ออายุที่มากขึ้นทำให้สภาพร่างกายเสื่อมถอยลง ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวสามารถช่วยหันดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด เพื่อผู้สูงอายุจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขอยู่ต่อไปในครอบครัวที่อบอุ่น
ขอบคุณข้อมูลจาก DOCARE , ร.พ.พญาไท3

แชร์บทความนี้